Have a question?
Message sent Close

อบรมระบบ Data Modelling with Power BI

Instructor
Mr. Jarviz
0
0 reviews
  • Description
  • Curriculum
  • Reviews
หัดทำ Data Analytic

การสร้าง Data Modelling ใน Power BI คืออะไร

Data Modelling คืออะไร แล้วมีความสำคัญอย่างไรใน Power BI การสร้าง Data Modelling เป็นหนึ่งในคุณลักษณะใน Power BI ซึ่งใช้ในการเชื่อมต่อแหล่งข้อมูลหลายแหล่งโดยใช้ความสัมพันธ์ ด้วยดการกำหนดวิธีการเชื่อมต่อแหล่งข้อมูลระหว่างกัน หรือกำหนดการเชื่อมต่อแบบ Logical ระหว่างแหล่งข้อมูลต่างๆ

Data Modelling with Power BI 1

การสร้าง Data Modelling ด้วย Power BI แล้วข้อมูลมาจากไหน?

โดยปกติจากฐานข้อมูล ซึ่งเรามีตารางจำนวนมาก และเราไม่ควรนำเข้าตารางทั้งหมดโดยตรง เราควรลดตารางโดยการรวมตาราง และใช้คอลัมน์ทั่วไป โดยที่ชุดของตารางจะลดลงเหลือจำนวนตารางที่แสดงด้านล่าง

สำหรับการรวม Table เรามีกฎบางอย่างที่เราควรปฏิบัติตาม คือ ไม่ควรรวม Table ทั้งหมดเป็น Table ใหญ่เดียว ขณะเข้าร่วม Table เราควรคำนึงถึง Dimensional model เสมอ

Data Modelling with Power BI 2

 

Dimensional model นั้นมีความสำคัญกับ Dimensional Table เสมอ เนื่องจากเป็นตารางที่อธิบายองค์กรธุรกิจ หรือสิ่งของในแบบจำลองของเรา หรือสิ่งของในบริษัทของเรา รวมเข้ากันเป็นตารางค้นหา อาจรวมถึงผลิตภัณฑ์ ผู้คน สถานที่ และแนวคิด ซึ่งรวมถึงตัวเวลาด้วย ตัวอย่างเช่น ใคร, เมื่อใด, ที่ไหน, อะไร

โดยปกติแล้วขั้นตอนการใช้ Power BI จะแบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลักๆด้วยกัน คือ

  1. การนำข้อมูลจาก Data sources เข้าสู่ Power BI
  2. การปรับเปลี่ยนข้อมูลให้เหมาะสมกับ Dashboard ที่เราต้องการ
  3. นำข้อมูลที่เตรียมไว้เรียบร้อยไปสร้าง Dashboard ที่เราต้องการ

การสร้าง Data Modelling ด้วย Power BI นั้นจะอยู่ใน ส่วนที่ 2

ในเรื่องของ Data บน Modelling นั้น จะทำการสร้างโครงสร้างของข้อมูลก่อน เพื่อจะนำไปใช้บน Power BI ไม่ว่าแหล่งข้อมูลนั้นจะมาจากที่ไหน เช่น Database Excel Access หรือจากแหล่งข้อมูลไหนก็ตาม จะถูกทำให้อยู่ในรูปแบบของตาราง โดยปกติแล้วถ้าหากข้อมูลถูกรวมไว้อยู่ในตารางเดียว สามารถนำข้อมูลมาใช้แสดงผลบน Power BI ได้เลย แต่ทว่าถ้าหากข้อมูลมีมากกว่า 1 ตาราง หรือข้อมูลมีลักษณะใหญ่ขึ้น และมากขึ้นโดยไม่จำเป็น ข้อมูลจะมีการแตกย่อยมากกว่า 1 ตาราง โดยอัตโนมัติ หากเมื่อนำข้อมูลมีมากกว่า 1 ตาราง สิ่งที่เกิดขึ้นคือการสร้างความสัมพันธ์ขึ้นมาสำหรับ Filter เพื่อแสดงข้อมูล

ความสัมพันธ์ของข้อมูลถ้าหากมองในรูปของการเก็บข้อมูลทุกวัน หรือ OLTP มีลักษณะคล้าย Primary Key หรือ Foreigner Key ที่ลิงค์กัน ระหว่างตาราง 2 ตาราง ในส่วนของ Data Warehouse นั้นเป็นตารางที่เก็บข้อมูล สำหรับนำมาแสดงผล (Fact Tables) เข้าร่วมกับตารางที่จะเอามาจัด Filter (Dimensions Tables) Power BI มีความสามารถพิเศษให้เราเลือกได้ว่า จะสร้างแบบ Manual หรือ Automatic ก็ได้ตามที่เราต้องการ

เรื่องที่ควรรู้ในการสร้างตัวความสัมพันธ์ใน Power BI โดยจะทำการกำหนด Cardinality เป็นลักษณะของการอธิบายความสัมพันธ์ของทั้ง 2 ตาราง เป็นรูปแบบไหน โดยจะอธิบายความสัมพันธ์ได้ดังนี้

  1. One to One (1:1)
  2. One to Many (1:*)
  3. Many to One (1:*) -> Reverse of *:1
  4. Many to Many (*:*)

สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมส่วนอื่นๆ ท่านสามารถทำความเข้าใจวิธีการสร้าง Data Modelling ด้วย Power BI จากวิดีโอด้านล่างนี้เพิ่มเติมครับ

ทั้งนี้หากท่านสนใจผลิตภัณฑ์ Power BI หรือต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม เพื่อให้ได้ข้อมูลก่อนจัดซื้อและใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับองค์กรของท่านเอง ท่านสามารถติดต่อผ่านสื่อของ Fusion Solution ได้ครับ

ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลประกอบเนื้อหาเพิ่มเติม

https://medium.com/geekculture/power-bi-data-modeling-and-understanding-star-schema-its-importance-bf8245fdc9c5

    Share

    Archive

    Working hours

    Monday9:30 am - 6.00 pm
    Tuesday9:30 am - 6.00 pm
    Wednesday9:30 am - 6.00 pm
    Thursday9:30 am - 6.00 pm
    Friday9:30 am - 5.00 pm
    SaturdayClosed
    SundayClosed